บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2023

ภูมิลำเนา

รูปภาพ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2530 จำเลยอ้างว่ามีภูมิลำเนาอยู่ ณ บ้านที่ปรากฏตามสำเนาทะเบียนบ้าน ซึ่งไม่ใช่บ้านตามที่โจทก์ระบุในคำฟ้อง แต่ตามนามบัตรที่จำเลยพิมพ์ไว้ใช้เองระบุว่าบ้านตามสำเนาทะเบียนบ้านเป็นสำนักงานของจำเลยและบ้านตามที่โจทก์ระบุในคำฟ้องเป็นบ้านที่อยู่อาศัย ทั้งเมื่อพนักงานเดินหมายนำส่งหมายต่างๆ ให้แก่จำเลยที่บ้านซึ่งเป็นภูมิลำเนาในคำฟ้อง แม้บุคคลในบ้านไม่ยอมรับหมายไว้แทนจนต้องปิดหมายไว้แต่ก็ไม่มีผู้ใดปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้อยู่ที่บ้านหลังนี้ ดังนั้นจึงถือได้ว่าจำเลยมีภูมิลำเนาหลายแห่ง ซึ่งอยู่สับเปลี่ยนกันไป บ้านตามที่โจทก์ระบุในคำฟ้องเป็นภูมิลำเนาแห่งหนึ่งของจำเลย พนักงานเดินหมายนำส่งหมายเรียกสำเนาคำฟ้อง และหมายนัดสืบพยานโจทก์ตามคำสั่งศาลชอบแล้ว จำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดและไม่ไปศาลในวันสืบพยาน ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่ #ทนายโตน #รับว่าความทั่วราชอาณาจักร https://smartthaiattorney.com https://tonelawfirm.com/

เขตอำนาจเหนือคดี

รูปภาพ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4279/2551 ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) บัญญัติว่า "คำฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่" ดังนั้น คำฟ้องของโจทก์จึงอาจเสนอต่อศาลได้สองศาลขึ้นไป คือศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลและศาลที่มีมูลคดีเกิดขึ้น ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย เมื่อสำนักงานของโจทก์เป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้นโจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 2 ต่อศาลจังหวัดสระบุรีได้ ข้อตกลงที่ให้ฟ้องคดีที่ศาลแพ่งนั้น จึงขัดต่อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ไม่อาจใช้บังคับได้ : #ทนายโตน #รับว่าความทั่วราชอาณาจักร https://smartthaiattorney.com https://tonelawfirm.com/

เสพและจำหน่าย

รูปภาพ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2609/2566 ป.ยาเสพติด มาตรา 1 บทนิยามคําว่า “จําหน่าย” มีความหมายรวมถึงการมีไว้เพื่อจําหน่ายด้วย ดังนั้น ความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในความครอบครองเพื่อจําหน่ายและฐานพยายามจําหน่ายจึงเป็นความผิดอย่างเดียวกัน เมื่อจําเลยกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอีกเพราะไม่เข็ดหลาบ และโจทก์มีคําขอให้เพิ่มโทษตามกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดไว้แล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์มีความประสงค์ขอเพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบ ศาลย่อมมีอำนาจเพิ่มโทษจําเลยได้หนึ่งในสาม ตาม ป.อ. มาตรา 92 ที่เป็นบททั่วไปได้ #ทนายโตน #รับว่าความทั่วราชอาณาจักร https://smartthaiattorney.com https://tonelawfirm.com/

ทิ้งฟ้อง

รูปภาพ
“การทิ้งฟ้องหรือถอนฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้อง รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆ อันมีต่อมาภายหลังยื่นคำฟ้อง และกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้องเลย ป.วิ.พ. มาตรา 176" https://smartthaiattorney.com https://tonelawfirm.com/ #ทนายโตน #รับว่าความทั่วราชอาณาจักร

ทางจำเป็น

รูปภาพ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6372/2550 วินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ ทั้งที่ทางพิจารณาอาจเป็นได้ทั้งทางจำเป็นและทางภาระจำยอมในขณะเดียวกันได้จึงเป็นการไม่ชอบ ดังนี้ หากศาลอุทธรณ์ภาค 3 เห็นว่า ทางพิพาทไม่ใช่ทางภาระจำยอมโดยอายุความ และข้อเท็จจริงในสำนวนเพียงพอที่จะวินิจฉัยในเรื่องทางจำเป็น ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็มีอำนาจวินิจฉัยในเรื่องทางพิพาทว่าเป็นทางจำเป็นหรือไม่ได้ ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น เนื่องจากโจทก์มีคำขอมาตั้งแต่ต้นแล้ว มิฉะนั้น โจทก์คงต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่ ทั้งโจทก์ จำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมก็ต้องนำสืบถึงข้อเท็จจริงในเรื่องที่เคยนำสืบมาแล้ว จึงหาชอบด้วยความยุติธรรมไม่ #ทนายโตน #รับว่าความทั่วราชอาณาจักรhttps ://smartthaiattorney.com https://tonelawfirm.com/

จำเลย

รูปภาพ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2236/2545 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179(3) มิได้บัญญัติว่า ข้อความที่ขอแก้ไขคำให้การจำเลยใหม่จะต้องเกี่ยวกับคำให้การเดิมหรือข้ออ้างเดิมของจำเลยคงบัญญัติห้ามเฉพาะเรื่องคำฟ้องเท่านั้น ฉะนั้นแม้การแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยที่ 1 จะเป็นการยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่กล่าวแก้ข้อหาของโจทก์ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับคำให้การเดิมหรือไม่ก็ย่อมกระทำได้ จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องอันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขภายหลังจากวันสืบพยานโจทก์ได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180 https://smartthaiattorney.com https://tonelawfirm.com/

แปดวัน

รูปภาพ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5047/2547 ทนายจำเลยที่ 2 ยื่นคำแถลงขอคัดหรือถ่ายเอกสารต่างๆ ในสำนวนคดีเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2542 แสดงว่าจำเลยที่ 2 ได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างในเรื่องผิดระเบียบเช่นว่านี้อย่างช้าในวันดังกล่าวแล้ว แต่จำเลยที่ 2 เพิ่งยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบในวันที่ 27 พฤษภาคม 2547 จึงล่วงเลยกำหนดเวลาแปดวันนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง แล้ว จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้อง https://smartthaiattorney.com https://www.aiyellow.com/tonelawfirm/

คุ้มครองประโยชน์

รูปภาพ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3900/2532 โจทก์-จำเลยพิพาทกันเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำเลยมิได้ฟ้องแย้งขอแสดงกรรมสิทธิ์หรือเรียกค่าเสียหายมาด้วย เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยจะร้องขอให้ศาลสั่งให้โจทก์เอาผลประโยชน์ที่ได้รับมาวางศาลจนกว่าคดีจะถึงที่สุดหาได้ไม่เพราะผลทางคดีถ้าจำเลยเป็นฝ่ายชนะ ศาลก็จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ไปเท่านั้น ไม่มีผลบังคับไปถึงผลประโยชน์ของที่ดินตามที่จำเลยขอคุ้มครอง (โจทก์ขอศาลน่าจะให้) https://smartthaiattorney.com https://www.aiyellow.com/tonelawfirm/

คำเบิกความใช้เป็นพยานได้

รูปภาพ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3498/2546 ปัญหาเรื่องฟ้องเคลือบคลุมเป็นปัญหาข้อกฎหมาย และเรื่องฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ในคดีแพ่ง มิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ในคดีอาญาที่จำเลยถูกฟ้องจำเลยได้ให้การและเบิกความว่าจำเลยเป็นหนี้เงินกู้และทองรูปพรรณต่อโจทก์และจำเลยได้ลงลายมือชื่อในคำให้การและคำเบิกความด้วยความสมัครใจ บันทึกคำให้การและบันทึกคำเบิกความดังกล่าวจึงใช้และรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งการกู้ยืมในคดีแพ่งได้ แม้จะมิใช่ข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นโดยตรงในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาที่จำเลยต้องหาก็ตามแต่ก็ถือได้ว่าบันทึกดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง https://smartthaiattorney.com https://www.aiyellow.com/tonelawfirm/

พิจารณาใหม่

รูปภาพ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248/2546 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 โจทก์จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ไม่ได้ เพราะศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งให้พิจารณาคดีนี้ไปฝ่ายเดียวอันเนื่องมาจากคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งขาดนัดพิจารณาและอีกฝ่ายหนึ่งมิได้ขาดนัดพิจารณา ทั้งห้ามโจทก์อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีด้วย หากโจทก์เห็นว่าการที่ศาลสั่งจำหน่ายคดีไปนั้นเพราะหลงผิดเนื่องจากโจทก์ยังไม่ทราบกำหนดวันนัดสืบพยาน โจทก์ก็ชอบที่จะขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้ ถ้าศาลยกคำร้องที่ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวโจทก์ก็สามารถอุทธรณ์คำสั่งศาลนั้นต่อไปได้เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลที่ยกคำร้องฉบับแรกของโจทก์ที่ขอให้ศาลเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ โจทก์คงมีสิทธิที่จะฟ้องคดีนี้ใหม่ภายในอายุความเท่านั้น