บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2023

ร้องสอด

รูปภาพ
ฎ.695/2524 ป.วิ.พ. มาตรา 59 บัญญัติว่า “บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปอาจเป็นคู่ความในคดีเดียวกันได้โดยเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วม ถ้าหากปรากฏว่าบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี ...ฯลฯ” ซึ่งหมายความว่าต้องมีส่วนได้เสียร่วมกันในมูลเหตุอันเป็นรากฐานแห่งคดีนั้นโดยถือหนี้อันเป็นมูลของคดีนั้นเป็นสาระสำคัญ ฉะนั้น ในกรณีทำละเมิดต่อโจทก์หลายคนร่วมกัน แม้ค่าเสียหายของโจทก์แต่ละคนจะแยกต่างหากจากกันได้ ก็อาจเป็นโจทก์ร่วมกันในคดีเดียวกันได้ #ทนายโตน #รับว่าความทั่วราชอาณาจักร https://tonelawfirm.com/ @ทุกคน #เปิดการมองเห็น https://smartthaiattorney.com

ร้องสอด

รูปภาพ
ฎ.5244-5245/2562 โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางพิพาทบนที่ดินของจำเลยและให้จำเลย ไปจดทะเบียนเป็นทางการจำยอมให้แก่ที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง ผู้ร้องสอดยื่น คำร้องว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของที่ดินอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์ โดยผู้ร้องซื้อที่ดินมาจาก ส. และ ส. ได้ใช้ ทางพิพาทบนที่ดินของจำเลยออกสู่ถนนสาธารณะโดยสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของทาง มากว่า 10 ปี จนกระทั่ง ส. ขายให้แก่ผู้ร้อง และผู้ร้องได้ใช้ทางพิพาทสืบสิทธิจาก ส. เรื่อยมา โดยทางพิพาทเป็นเส้นทางเดียวกัน และทับซ้อนกับทางพิพาทที่โจทก์ฟ้อง ดังนี้ เป็นกรณีที่ผู้ร้อง คุ้มครอง หรือบังคับสมัครใจเข้ามาในคดีเพราะเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง ตามสิทธิที่ตนมีอยู่ ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องสอดเข้ามาในคดีได้ตามมาตรา 57 (1) #ทนายโตน #รับว่าความทั่วราชอาณาจักร https://tonelawfirm.com/ @ทุกคน #เปิดการมองเห็น https://smartthaiattorney.com/

หุ้นส่วนผู้จัดการ

รูปภาพ
คำพิพากษาฎีกา 270/2552 กรณีของหุ้นส่วนผู้จัดการ จะต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้สินของห้างฯโดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1077 (2) ประกอบมาตรา 1087 ดังนั้น เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นโจทก์ฟ้องคดีหรือถูกฟ้องเป็นจำเลย คู่ความจึงมีสิทธิขอให้หมายเรียกหุ้นส่วนผู้จัดการเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วมได้ #ทนายโตน #รับว่าความทั่วราชอาณาจักร https://tonelawfirm.com/ #ทุกคน #เปิดการมองเห็น https://smartthaiattorney.com

ทรัพย์ผู้ตาย

รูปภาพ
ฎ.7910/2544 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้ง ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายจึงมีประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยแต่เพียงว่าสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่เท่านั้น แม้ศาลจะตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ก็ไม่มีผล กระทบกระเทือนถึงสิทธิของผู้ร้องสอดที่อ้างว่าเป็นเจ้าของที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 137 ที่ผู้ร้องระบุไว้ในบัญชีทรัพย์ว่าเป็นมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องสอดมีสิทธิในที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 137 อยู่อย่างไร ก็คงมีอยู่อย่างนั้น ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องร้องสอดเข้ามาในคดีนี้เพื่อให้ศาลรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิที่มีอยู่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) #ทนายโตน #รับว่าความทั่วราชอาณาจักร https://tonelawfirm.com/ #ทุกคน #เปิดการมองเห็น https://smartthaiattorney.com

กรรมสิทธิ

รูปภาพ
คำพิพากษาาลฎีกา 308/2490 และ 3016/2525 ที่ดินในประเทศไทย ที่กฎหมายยอมให้บุคคลมีกรรมสิทธิ์ได้ มีเพียง 4 ประเภท เท่านั้น คือ 1. โฉนดที่ดิน 2. โฉนดแผนที่ 3. โฉนดตราจอง 4. ตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว หากเป็นที่ดินประเภทอื่น เช่น ที่ดินที่มี น.ส. 3, น.ส. 3 ก., ส.ค. 1, ใบเหยียบย่ำ หรือที่ดินมือเปล่า ซึ่งเจ้าของมีเพียงสิทธิครอบครอง จะไม่สามารถมีการครอบครองปรปักษ์เกิดขึ้นได้ การครอบครองปรปักษ์เป็นเรื่องของการได้กรรมสิทธิ์ ดังนั้นจึงเกิดขึ้นได้เฉพาะกับที่ดินที่บุคคลสามารถมีกรรมสิทธิ์ได้เท่านั้น #ทนายโตน #รับว่าความทั่วราชอาณาจักร https://tonelawfirm.com/ #เปิดการมองเห็น https://smartthaiattorney.com

ปรปักษ์

รูปภาพ
หตุที่สามารถยื่นคำร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งแสดงว่าตนใด้กรรมสิทธิ์ในที่ดินมีโฉนดโดยการครอบครองปรปักษ์ได้ เนื่องจากประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 78 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ข้อ 8 (1) กำหนดว่า การจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งได้มาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ผู้ได้มาต้องยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมด้วยคำพิพากษา หรือคำสั่งอันถึงที่สุด แสดงว่าตนมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว ดังนั้น ผู้ครอบครองปรปักษ์จึงมีความจำเป็นต้องมาร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งแสดงว่าตนมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์เพื่อจะได้นำคำสั่งศาลนั้น ไปยื่นต่อเจ้าพนักงานที่ดินในการขอออกโฉนดที่ดิน โดยมีประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 78 และกฎกระทรวงดังกล่าวรองรับ ให้มาใช้สิทธิทางศาลได้ #ทนายโตน #รับว่าความทั่วราชอาณาจักร https://tonelawfirm.com/ #เปิดการมองเห็น https://smartthaiattorney.com

ฟ้องกลับ

รูปภาพ
ฎีกา 2994/2558 การฟ้องคดีเป็นการใช้สิทธิทางศาลของโจทก์ที่กฎหมายให้กระทำได้ หากมิได้เป็นการกระทำโดยไม่สุจริตหรือกลั่นแกล้งฟ้อง แม้ต่อมาศาลจะพิพากษายกฟ้อง ก็ไม่ถือว่าการฟ้องคดีของโจทก์เป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลย #ทนายโตน #รับว่าความทั่วราชอาณาจักร https://tonelawfirm.com/ https://smartthaiattorney.com

notice

รูปภาพ
คำพิพากษาฎีกาที่ 1686/2519, 136/2522 เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลใดตามกฎหมายแพ่ง โดยหลักแล้ว บุคคลที่ถูกโต้แย้งสิทธิย่อมยื่นฟ้องคดีต่อศาลได้ทันที โดยไม่ต้องบอกกล่าวหรือทวงถามก่อน #ทนายโตน #รับว่าความทั่วราชอาณาจักร https://tonelawfirm.com/ https://smartthaiattorney.com

พยานหลักฐาน

รูปภาพ
ต้องตระหนักถึงพยานหลักฐานที่ถูกต้องแน่นหนา...ถ้ามีความถูกต้องแล้ว ทนายก็บอกได้ว่าคุณจะชนะแน่นอน...เหลือเปอร์เซ็นต์ให้ฎีกาเล็กน้อย

ตัดฟ้อง

รูปภาพ
การชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามมาตรา 24 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งในภาษากฎหมายโบราณเรียกว่า "ให้การตัดฟ้อง" นั้น มีหลักเกณฑ์ 5 ประการ ดังนี้ ปัญหาเรื่องอํานาจฟ้อง ปัญหาเรื่องฟ้องเคลือบคลุม ปัญหาเรื่องคดีขาดอายุความ ปัญหาเรื่องฟ้องซ้อน ฟ้องซ้ํา ดําเนินกระบวนพิจารณาซ้ํา ปัญหาเรื่องคดีไม่อยู่ในเขตอํานาจของศาล ปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน และปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน หากเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอํานาจยกขึ้นวินิจฉัยชี้ขาดได้เองเสมอ และจําเลยก็มีสิทธิยกขอให้ศาลวินิจฉัย แม้จําเลยจะไม่ได้ยกปัญหานั้นขึ้นมาในคําให้การก็ตาม ถ้ามิใช่ปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลไม่มีอํานาจยกขึ้นวินิจฉัย เองได้ จําเลยจะต้องยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นสู้คดีไว้ในคําให้การเสียก่อน #ทนายโตน #รับว่าความทั่วราชอาณาจักร https://tonelawfirm.com/ https://smartthaiattorney.com

อำนาจทั่วไป

รูปภาพ
แม้ไม่ปรากฏพฤติการณ์เป็นพิเศษ และไม่มีเหตุสุดวิสัยซึ่งจะทําให้ศาลไม่อาจอาศัยอํานาจตามมาตรา 23 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งสั่งขยายหรือย่นระยะเวลาได้นั้น ศาลก็ยังคงมีอํานาจทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ ในการอนุญาตให้ขยายระยะเวลาแก่คู่ความเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ดังปรากฏในฎีกาที่ 10279/2555 #ทนายโตน #รับว่าความทั่วราชอาณาจักร https://tonelawfirm.com/ https://smartthaiattorney.com

ค่าธรรมเนียมใช้แทน

รูปภาพ
ในเรื่องค่าขึ้นศาลนั้น หากคู่ความมิได้ชำระหรือวางค่าขึ้นศาลมาไม่ครบถ้วน มาตรา 18 วรรคสอง กำหนดให้ศาลต้องสั่งให้นำมาชำระหรือวางให้ถูกต้องครบถ้วนเสียก่อน จะสั่งไม่รับคำ คู่ความนั้นไปทันทีเลยไม่ได้ แต่ในเรื่องค่าธรรมเนียมใช้แทนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 นั้น เป็นบทบังคับให้ผู้อุทธรณ์ ต้องนำมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ หากมิได้วางเงินค่าธรรมเนียมใช้แทนมาพร้อมกับอุทธรณ์ หรือวาง มาไม่ครบถ้วน ศาลชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที ดูฎีกา 1400/2534 และ 2815/2554 : #ทนายโตน #รับว่าความทั่วราชอาณาจักร https://tonelawfirm.com/ https://smartthaiattorney.com

ขยายระยะเวลาเป็นครั้งสุดท้าย

รูปภาพ
แม้ศาลจะเคยมีคำสั่งว่า อนุญาตให้ขยายระยะเวลาเป็นครั้งสุดท้าย แต่เมื่อคู่ความ ยื่นคำขอขยายระยะเวลาอีก ศาลก็มีอำนาจขยายระยะเวลาให้อีกได้ ดูฎีกา 1701/2560 #ทนายโตน #รับว่าความทั่วราชอาณาจักร https://tonelawfirm.com/ https://smartthaiattorney.com

ขอขยายเมื่อเกินเวลา

รูปภาพ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335/2544 การที่โจทก์ยังไม่ได้รับสำเนาคำพิพากษาเป็นเหตุให้ไม่อาจทำอุทธรณ์ยื่นได้ภายในกำหนด ถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษตาม ป.วิแพ่ง มาตรา 23 แต่ต้องยื่นขอก่อนสิ้นระยะเวลาที่กำหนด โจทก์เพิกเฉยมิได้ยื่นคำขอขยายระยะเวลาเสียก่อนสิ้นระยะเวลาโดยอ้างว่าเข้าใจผิดอันเกิดจากความประมาทเลินเล่อในการตรวจดูคำสั่งศาลชั้นต้นของเสมียนทนายโจทก์ เหตุดังกล่าวนี้ เป็นเรื่องความบกพร่องภายในของโจทก์เอง ยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยตามความหมายของมาตรา 23 #ทนายโตน #รับว่าความทั่วราชอาณาจักร https://tonelawfirm.com/ https://smartthaiattorney.com

ศาลที่มีอำนาจเหนือคดี

รูปภาพ
ป.พ.พ.มาตรา 3 เพื่อประโยชน์ในการเสนอคำฟ้อง (1) ในกรณีที่มูลคดีเกิดขึ้นในเรือไทยหรืออากาศยานไทยที่อยู่นอกราชอาณาจักร ให้ศาลแพ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจ (2) ในกรณีที่จำเลยไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร (ก) ถ้าจำเลยเคยมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรภายใน 2 ปีก่อนวันที่มีการเสนอคำฟ้อง ให้ถือว่าที่นั้นเป็นภูมิลำเนาของจำเลย (ข) ถ้าจำเลยประกอบหรือเคยประกอบกิจการในราชอาณาจักร ไม่ว่าโดยตนเองหรือตัวแทน หรือโดยมีบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการนั้น ให้ถือว่าสถานที่ที่ใช้หรือเคยใช้ประกอบกิจการหรือติดต่อดังกล่าว หรือสถานที่อันเป็นถิ่นที่อยู่ของตัวแทนหรือของ ผู้ติดต่อในวันที่มีการเสนอคำฟ้องหรือภายใน 2 ปีก่อนนั้น เป็นภูมิลำเนาของจำเลย #ทนายโตน #รับว่าความทั่วราชอาณาจักร https://tonelawfirm.com/ https://smartthaiattorney.com 

ยื่นขอเลื่อนต่างศาล

รูปภาพ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1644/2519 วันนัดสืบพยานโจทก์ (นัดแรก) ทนายโจทก์ป่วยอยู่ที่จังหวัดหนองคายเนื่องจากทอนซิลอักเสบและแพทย์ให้ความเห็นว่าสมควรหยุดพักรักษาตัว ซึ่งถ้าทนายโจทก์ป่วยอยู่ที่จังหวัดเลยอันอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นแล้วทนายโจทก์ก็ต้องร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่ไปศาลให้ศาลชั้นต้นทราบเสียก่อนลงมือสืบพยาน คดีนี้นัดสืบพยานโจทก์ไว้เวลา 9 นาฬิกา ปรากฏว่าคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายโจทก์ซึ่งยื่นต่อศาลจังหวัดหนองคาย โดยอาศัยบทบัญญัติมาตรา 10 แห่งป.วิ แพ่งนั้น พนักงานรับฟ้องขอศาลจังหวัดหนองคายลงรับไว้เวลา 10.00 นาฬิกา แต่ศาลชั้นต้นได้รออยู่จนเวลา 10.05 นาฬิกา จึงได้สั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ ดังนั้น จะถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาไม่ได้ เพราะกรณีดังกล่าวถือว่าโจทก์ได้ร้องขอเลื่อนคดีก่อนลงมือสืบพยานแล้ว (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2519) #ทนายโตน #รับว่าความทั่วราชอาณาจักร https://smartthaiattorney.com https://tonelawfirm.com

เปลี่ยนที่ สปก.เป็นโฉนด

รูปภาพ
รัฐบาลได้จัดทำโครงการ เปลี่ยน ส.ป.ก.4-01 ให้เป็นโฉนดที่ดิน เพื่อให้เกษตรกรมีเอกสารสิทธิครอบครองที่ดินอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร นับตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2566 เกษตรกรสามารถยื่นความประสงค์ออกโฉนดจากที่ดิน ส.ป.ก.4-01 เพื่อเกษตรกรรมได้แล้ว  ผู้มีสิทธิยื่นคำขอโฉนด ต้องเป็นเกษตรกรที่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับจากวันที่ระเบียบใช้บังคับ อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ -วันที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด มีมติอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ (นับต่อเนื่องจากคนที่ได้รับอนุญาตครั้งแรก) -วันที่ปฏิรูปที่ดินจังหวัด มีมติอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ (นับต่อเนื่องจากคนที่ได้รับอนุญาตครั้งแรก) ทั้งนี้ การนับ 5 ปี สามารถตรวจสอบได้จากหลายช่องทาง ได้แก่ รายชื่อที่ประกาศ ณ ที่ทำการผู้ปกครองท้องที่ / วันที่ลงใน ส.ป.ก.4-01 ฉบับแรก ก่อนแบ่งแยกหรือสอบถามได้ที่ ส.ป.ก.จังหวัด ยื่นทำโฉนดที่ดินจาก ส.ป.ก. 4-01 ที่ไหนได้บ้าง ส.ป.ก. ทุกจังหวัด หน่วยบริการเคลื่อนที่ (Mobile Unit) ของ ส.ป.ก. ยื่นระบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ ส.ป.ก. servicecenter.alro.go.th

คำพิพากษาศาลฏีกา ที่ 2692543 สัญญาระหว่างบุคคลผู้อยู่เฉพาะหน้า ย่อเกิดเป...

รูปภาพ
คำพิพากษาศาลฏีกา ที่ 269/2543 สัญญาระหว่างบุคคลผู้อยู่เฉพาะหน้า ย่อมเกิดเป็นสัญญาขึ้น ณ สถานที่ที่ผู้เสนอกับผู้สนองทำสัญญากัน มูลคดีจึงเกิดขึ้น ณ สถานที่ที่ได้ทำสัญญากัน ความข้อนี้ให้ใช้ตลอดถึงการทำคำเสนอและคำสนองกันทางโทรศัพท์ด้วย : #ทนายโตน #รับว่าความทั่วราชอาณาจักร https://smartthaiattorney.com https://tonelawfirm.com/

กรรมการสภาทนายความ

รูปภาพ
กรรมการสภาทนายความเป็นเจ้าพนักงานของรัฐตาม พรบ.ปปช.หรือไม่ ? สภาทนายความ และคณะกรรมการสภาทนายความ เป็นหน่วยงานทางปกครองและเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ตามได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการทางปกครอง จึงเป็นหน่วยทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๙๒๖/๒๕๕๙) แต่กรรมการสภาทนายความไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และกรรมการสภาทนายความไม่เป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ตามรัฐธรรมนูญ (คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ ๕/๒๕๔๓) ต่อมา พรบ.ปปช.2561 ม. 4 ,172 กำหนดเพิ่มเติม สภาทนายความฯ ก็ไม่เป็น “บุคคลหรือคณะบุคคล บรรดาซึ่งมีกฎหมายกำหนดให้ใช้อำนาจหรือได้รับมอบให้ใช้อำนาจทางปกครองที่จัดตั้งขึ้นในระบบราชการ รัฐวิสาหกิจหรือกิจการอื่นของรัฐด้วย” เพราะสภาทนายความฯ มิใช่กิจการอื่นของรัฐ #ทนายโตน #รับว่าความทั่วราชอาณาจักร https://smartthaiattorney.com https://tonelawfirm.com/