ข่าว "ดราม่าทนายคนดัง" สะท้อนให้เห็นถึงจำเป็นที่ต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับค่าทนายความ : ปพพ. มาตรา 853 บัญญัติว่า "ค่าทนายความให้คิดคำนวณตามตารางท้ายประมวลกฎหมายนี้" ซึ่งเป็นอัตราที่ศาลกำหนดสำหรับการสั่งคดี ในกรณีที่คู่ความเรียกร้องจากอีกฝ่าย และกรอบที่ศาลจะพิพากษาให้ผู้แพ้คดีชดใช้ แต่มิใช่เกณฑ์การจ้างทนายความเอกชนตามข่าว ไม่เกี่ยวข้องกับกฎหมายนี้แต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาคดีที่เกี่ยวข้องกับค่าทนายความ เช่น ฎีกาที่ 5229/2544การคิดคำนวณค่าทนายความเป็นร้อยละจากจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทซึ่งกำหนดไว้แน่นอนนั้นไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
ฎีกาที่ 5622/2530การคิดคำนวณค่าทนายความจากจำนวนที่จะได้รับตามคำพิพากษาเมื่อลูกความชนะคดี ถือเป็นสัญญาจ้างว่าความโดยวิธีแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความ จึงเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
จะเห็นได้ว่าการกำหนดค่าทนายความนั้น ไม่มีกฎตายตัว ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ความยากง่ายของคดี ระยะเวลาในการดำเนินคดี ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของทนายความ รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น ค่าทนายความจึงอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคดี ควรมีการตกลงค่าทนายความอย่างชัดเจน เป็นลายลักษณ์อักษรก่อนรับว่าจ้าง โดยระบุรายละเอียดต่างๆ เช่น อัตราค่าทนายความ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ และวิธีการชำระเงิน ค่าทนายความเป็นค่าตอบแทนสำหรับการใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาชีพ ไม่มีถูกหรือแพง ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคู่สัญญา สิ่งสำคัญคือ ต้องมีความโปร่งใส ชัดเจน และเป็นธรรมต่อทั้งสองฝ่าย การกำหนดค่าทนายความนั้น ไม่มีกฎตายตัว ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ความยากง่ายของคดี ระยะเวลาในการดำเนินคดี ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของทนายความ รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น ค่าทนายความจึงอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคดี ควรมีการตกลงค่าทนายความอย่างชัดเจน เป็นลายลักษณ์อักษรก่อนรับว่าจ้าง โดยระบุรายละเอียดต่างๆ เช่น อัตราค่าทนายความ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ และวิธีการชำระเงิน ค่าทนายความเป็นค่าตอบแทนสำหรับการใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาชีพ ไม่มีถูกหรือแพง ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคู่สัญญา สิ่งสำคัญคือ ต้องมีความโปร่งใส ชัดเจน และเป็นธรรมต่อทั้งสองฝ่าย #ทนายโตน #0945241915

 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้