บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2023

ทนายความ

รูปภาพ
สิทธิมีทนายความ" เปลี่ยนไปเป็น "หน้าที่ของรัฐ" จัดให้เฉพาะผู้ยากไร้ จุดเด่นประการหนึ่งของรัฐธรรมนูญ 2560 คือ การตั้งหมวดที่ 5 "หน้าที่ของรัฐ" ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีข้อกำหนดบังคับให้รัฐต้องทำและจัดบริการให้แก่ประชาชน การวางข้อกำหนดในฐานะเป็นหน้าที่ของรัฐนั้นมีข้อดี คือ รัฐจะต้องลงมือดำเนินการให้บรรลุผลเองโดยประชาชนไม่ต้องร้องขอ แต่เมื่อหลายประเด็นที่เคยมีฐานะเป็น "สิทธิของประชาชน" กลับถูกเขียนใหม่โดยย้ายไปอยู่ในหมวด "หน้าที่ของรัฐ" ซึ่งในทางทฤษฎีถือgป็นการเปลี่ยนมือของสิทธิ จากเดิมที่ "ประชาชนมีสิทธิ" และประชาชนเป็นตัวผู้เล่นหลักที่จะทำให้สิทธินี้เป็นจริง เมื่อย้ายไปเป็น "หน้าที่ของรัฐ" ก็ส่งผลให้รัฐกลายเป็นตัวผู้เล่นหลัก และประชาชนมีบทบาทเพียงเป็นผู้ "รอรับ" บริการที่รัฐจัดสรรให้ "มาตรา 68 รัฐพึงจัดระบบการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมทุกด้านให้มีประสิทธิภาพเป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ และให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยสะดวก รวดเร็ว และไม่เสียค่าใช้จ่ายสูงเกินสมควร รัฐพึงมีมาตรการคุ้มครองเจ้าหน้าที่ขอ...

แจ้งความเท็จ

รูปภาพ
ข้อสังเกตุ เกี่ยวกับข้อหาแจ้งความเท็จ 1. ผู้แจ้งความเท็จนั้นอาจเป็น บุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล ก็ได้ 2. การแจ้งความเท็จอาจทำโดย – การบอกกับเจ้าพนักงาน               – การตอบคำถามเจ้าพนักงาน เช่น ให้การเท็จในฐานะเป็นพยาน                 – การแจ้งโดยวิธีแสดงหลักฐาน 3. ข้อความที่แจ้งต้องเป็นข้อเท็จจริงในอดีตหรือในปัจจุบัน หากเป็นเรื่อง ‘อนาคต’ ไม่เป็นความเท็จ 4. การแจ้งความเท็จนั้นต้องมีลักษณะเป็นการยืนยันข้อเท็จจริง มิใช่การแสดงความคิดเห็น หรือการคาดคะเนถึงเหตุการณ์ในอนาคต 5. การแจ้งความเท็จนั้น ผู้แจ้งต้องกระทำโดยเจตนา กล่าวคือ ต้องรู้ข้อเท็จจริงว่าสิ่งที่แจ้งนั้นเป็นเท็จ ไม่เป็นความจริงตามที่แจ้งเพราะหากแจ้งตามที่เข้าใจเช่นนี้ถือว่าผู้แจ้งไม่มีเจตนา

แก้โทษ

รูปภาพ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2610/2566   คำว่า “กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด หรือกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด” ตาม ป.อ. มาตรา 3 นั้น หมายถึงกฎหมายที่บัญญัติถึงการกระทำอันเป็นความผิดหรือบัญญัติถึงโทษ หรือโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิด และบทกฎหมายให้เพิ่มโทษแก่ผู้กระทำความผิด หากมีการแก้ไขบทกฎหมายดังกล่าวในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด และมีผลให้จำเลยได้รับโทษน้อยลง ศาลก็มีอำนาจแก้ไขโทษที่จะลงแก่จำเลยได้ภายในเงื่อนไขของมาตรา 3 (1) สำหรับประเด็นเรื่องการเพิ่มโทษกึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 ถูกยกเลิกไปโดย พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 มาตรา 4 ส่วน ป. ยาเสพติด ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ก็ไม่มีบทบัญญัติให้เพิ่มโทษได้ แม้กฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับยาเสพติดซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะมิได้บัญญัติเรื่องการเพิ่มโทษไว้ แต่ก็มิได้หมายความว่าศาลไม่อาจเพิ่มโทษตามบทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไปตาม ป.อ. เมื่อจำเลยกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษอีกโดยไม่เข็ดหลาบ และโจทก์มีคำขอให้เพิ่มโทษตามกฎหมายเดิมไว้แล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์มีความประสงค์จะขอเพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบและได้กล่าวในฟ้องแ...

ผู้เช่าซื้อ

รูปภาพ
ศาลฎีกาที่ 2841/2562 เมื่อ ว. เป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์จากธนาคาร ธ. ผู้ให้เช่าซื้อ ว. ย่อมมีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์จากรถที่เช่าซื้อและมีหน้าที่ต้องส่งมอบรถที่เช่าซื้อคืนแก่ผู้ให้เช่าซื้อ เมื่อมีผู้ลักรถที่เช่าซื้อไป ว. ย่อมได้รับความเสียหาย ว. จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์ได้โดยไม่จำต้องได้รับมอบอำนาจจากผู้ให้เช่าซื้อ และการที่ผู้ให้เช่าซื้อมอบอำนาจให้ ว. ไปร้องทุกข์ก็ถือได้ว่า ว. ร้องทุกข์ในฐานะที่ตนเป็นผู้เสียหายด้วย ไม่ว่าหนังสือมอบอำนาจ จะระบุให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2559 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2559 แต่พนักงานสอบสวนรับแจ้งความร้องทุกข์ในวันที่ 18 กันยายน 2559 ก็ไม่มีผลลบล้างการที่ ว. ร้องทุกข์ในฐานะที่ตนเป็นผู้สเียหาย Website หลัก : https://smartthaiattorney.com #ทนายโตน #รับว่าความทั่วราชอาณาจักร #มูลนิธิทนายใจดีปรึกษาฟรี #ฟ้องคดี #ที่ปรึกษากฎหมาย #ค้าความดี #เป็นเรื่องเป็นราว #นักสืบ #ทนายขุขันธ์ #เทพกวนอูเทพเที่ยงธรรม #เป็นธรรม #แก้คดีความ #ทวงหนี้ #สืบทรัพย์บังคับคดี #จำนอง #กู้ยืม #smart #เพื่อนไปโรงพัก #เพื่อนไปศาล #โตน #ทนายเก่งๆ #notarialse...

เหตุ “ผู้ให้” ใช้สิทธิ์ขอคืน การให้ไม่ได้ให้เป็นบำเหน็จสินจ้างโดยแท้ให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพันให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยาให้ในการสมรสผู้ให้ ให้อภัยแก่ผู้รับในเหตุประพฤติเนรคุณเวลาผ่านไปแล้ว 6 เดือน นับแต่ทราบเหตุประพฤติเนรคุณผู้ให้ฟ้องคดีหลัง 10 ปี นับแต่วันเกิดเหตุประพฤติเนรคุณ

รูปภาพ

ฟ้องพนีกงาน

รูปภาพ
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 18/2560 หลักกฎหมายว่าด้วยความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา 9 วรรค 1 (3) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งฯ เป็นหลักกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดของรัฐโดยปราศจากความผิด ซึ่งมีเจตนารมณ์ในการคุ้มครองและเยียวยาความเสียหายให้แก่เอกชนจากการใช้อำนาจของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครองหรือบริการสาธารณะแล้วก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนเป็นพิเศษแม้จะเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายก็ตามบทบัญญัตินี้จึงให้สิทธิ์เฉพาะเอกชนเท่านั้นในการฟ้องขอให้รัฐรับผิด เมื่อคดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองฟ้องขอให้จำเลยคืนเงินบำเหน็จที่ได้รับโดยไม่มีสิทธิ์แก่โจทก์จึงเป็นกรณีที่รัฐฟ้องคดีโดยใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่อดีตข้าราชการของตนในฐานะเอกชนคนหนึ่งซึ่งไม่เข้าหลักเกณฑ์ของคดีพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่นตามมาตรา 9 วรรค 1(3) คำฟ้องโจทก์ไม่เข้าลักษณะคดีพิพาทซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา 9 วรรค 1 กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทต้องใช้สิทธิ์ฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยต่อศาลยุติธรรม

ลูกจ้าง 1

รูปภาพ
คำพิพากษาฎีกาที่ 352/2524 โจทก์เป็นช่างตัดผมอยู่ที่ร้านของจำเลย จำเลยเป็นผู้ออกอุปกรณ์ของใช้ต่างๆ ค่าตัดผมโจทก์ตัดจำเลยได้ร้อยละ 40 โจทก์ได้ร้อยละ 60 ไม่มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ลักษณะเห็นได้ว่าจำเลยไม่มีอำนาจสั่งการเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ โดยเป็นทำนองจำเลยมีร้านตัดผมและอุปกรณ์ แต่ไม่สามารถตัดเองได้ก็หาประโยชน์โดยเปิดโอกาสให้ช่างตัดผมเข้ามาทำการตัดผมในร้านของจำเลยและแบ่งรายได้ที่ช่างตัดผมได้รับเป็นของจำเลยส่วนหนึ่ง การทำงานของโจทก์เป็นการกระทำให้ได้มาซึ่งค่าจ้างจากลูกค้า ที่โจทก์ได้รับไม่ใช่ค่าจ้างที่จำเลยจ่ายให้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ตกลงทำงานให้แก่จำเลยเพื่อรับค่าจ้าง โจทก์จึงไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยตามความหมายแห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 2 Website หลัก : https://smartthaiattorney.com #ทนายโตน #รับว่าความทั่วราชอาณาจักร #มูลนิธิทนายใจดีปรึกษาฟรี #ฟ้องคดี #ที่ปรึกษากฎหมาย #ค้าความดี #เป็นเรื่องเป็นราว #นักสืบ #ทนายขุขันธ์ #เทพกวนอูเทพเที่ยงธรรม #เป็นธรรม #แก้คดีความ #ทวงหนี้ #สืบทรัพย์บังคับคดี #จำนอง #กู้ยืม #smart #เพื่อนไปโรงพัก #เพื่...

ผู้เสียหาย

รูปภาพ
คำพิพากษาฎีกา ที่ 335/2563 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกกล่าวอ้างว่าสามารถช่วยเหลือฝากผู้เสียหายเข้าทำงานรับราชการในองค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลได้อันเป็นความเท็จ ความจริงแล้วจำเลยกับพวกไม่สามารถช่วยเหลือฝากผู้เสียหายเข้าทำงานรับราชการในองค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลตามที่กล่าวอ้างได้โดยการหลอกลวงของจำเลยกับพวกเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อว่าเป็นความจริงจึงมอบเงิน 550,000 บาท ให้จำเลยไปดำเนินการตามที่จำเลยกับพวกกล่าวอ้าง ซึ่งจำเลยให้การรับสารภาพและคู่ความทั้งสองฝ่ายแถลงไม่ติดใจสืบพยานข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติตามคำรับสารภาพของจำเลย กรณีฟังได้ว่าโจทก์ร่วมได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีในข้อหานี้ได้ เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีหน้าที่ในการคัดเลือกหรือบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในองค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลอีกทั้งข้อเท็จจริงที่ปรากฏก็ไม่อาจรับฟังได้ว่าโจทก์ร่วมมีเจตนาตั้งแต่แรกที่จะไปติดต่อจำเลยเพื่อขอให้ช่วยฝากเข้าทำงานรับราชการดังนั้น การที่โจทก์ร่วมมอบเงินจำนวน550,000 บาท ล้วนเกิดขึ้นเพราะถูกจำเลยหลอกลวง ถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้ก่อให้จำเลยกระทำคว...

อายุความมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2729/2565 คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกกับคดีมรดกเป็นคนละประเภทกัน กฎหมายบัญญัติแยกไว้คนละส่วนและให้อยู่ในบังคับแห่งอายุความฟ้องร้องคนละมาตรา โดยอายุความฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกนั้น มิให้ทายาทฟ้องเกินห้าปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง ส่วนคดีมรดกมีอายุความหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกตามมาตรา 1754 วรรคหนึ่ง แต่ไม่เกินสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตายตามมาตรา 1754 วรรคสี่ เมื่อโจทก์มีสิทธิรับมรดกแทนที่ของมารดาในทรัพย์มรดกของ ส. ที่ พ. ปกปิดความเป็นทายาทของมารดาโจทก์ และ พ. ไม่จัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิตามกฎหมาย จึงเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การตั้งผู้จัดการมรดกมีการปกปิดทายาท การแบ่งทรัพย์มรดกเป็นไปในทางที่ไม่สุจริต การโอนทรัพย์มรดกให้กับตนเองเพียงคนเดียวเป็นการกระทำที่ไม่ชอบ โดยไม่มีการแจ้งให้ทายาททราบ เมื่อเป็นการกระทำที่ไม่ชอบจึงไม่อาจถือว่าการจัดการมรดกสิ้นลงแล้ว กรณีต้องถือว่า พ. ครอบครองทรัพย์มรดกของผู้ตายแทนทายาทอื่น ผู้จัดการมรด...