"พรากผู้เยาว์" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 หมายถึง การที่บุคคลใดโดยปราศจากเหตุอันสมควร พรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล
องค์ประกอบความผิด
- องค์ประกอบภายนอก
- ผู้กระทำต้อง "พราก" เด็กไปจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล
- เด็กต้องมีอายุยังไม่เกินสิบห้าปี
- องค์ประกอบภายใน ผู้กระทำต้องมีเจตนา
การวิเคราะห์
- คำว่า "พราก" ฎีกาที่ 3152/2543 ให้ความหมาย "พราก" ว่า เอาไป พาไป หรือแยกเด็กออกจากความชอบธรรมของผู้ที่ปกครองดูแลเด็กนั้น การชักชวนและเด็กไปโดยสมัครใจก็เป็นการพรากอย่างหนึ่ง
- "โดยปราศจากเหตุอันสมควร" หมายถึง ไม่มีเหตุผลที่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น การลักพาตัวเด็กไป การพาเด็กหนี
- "บิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล" หมายถึง บุคคลตามกฎหมายที่มีอำนาจปกครองดูแลเด็กนั้น
ฎีกาที่เกี่ยวข้อง
- ฎีกาที่ 1174/2558 ความผิดฐานพรากเด็กหรือพรากผู้เยาว์...
- ฎีกาที่ 1087/2520 ผู้เยาว์อายุ 14 ปี หนีออกจากบ้านมารดาไปเป็นลูกจ้างอยู่ร้านค้าทองได้ 5 วัน ก็ถูกล่อลวง นำไปขายให้กับจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของและผู้จัดการสถานค้าประเวณี แม้ได้ความว่าผู้เยาว์หนีออกจากบ้านไปรับจ้างอยู่กับผู้อื่นก่อน ผูลอลวงชักพาผูเยาวไปเพื่อหากําไรหรือเพื่อการอนาจารก็มีความผิดฐานพรากผูเยาวไปเสียจากบิดามารดา ดังนั้น การที่จำเลยรับตัวผู้เยาว์ไว้โดยทุจริต จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 319 วรรคสอง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น